KM-Process :ก.พ.ร.



การจัดการความรู้ : Knowledge Management


  อีกหนึ่งหัวข้อของการอบรม หลักสูตร “การนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ (Tool Kits : Making Strategy Work)” ที่จัดขึ้นเพื่อให้ข้าราชการสำนักงาน ก.พ.ร. มีความรู้ความเข้าใจในนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดเครื่องมือการฝึกอบรม "หลักสูตรการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ (Tool Kits : Making Strategy Work)" และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือการอบรมเรื่อง การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2549 ณ ห้องประชุม 501 - 502 ชั้น 5 สำนักงาน ก.พ.ร. โดยมี คุณธวัชชัย หล่อวิจิตร เป็นวิทยากร


คุณธวัชชัยได้แนะนำถึงเทคนิคในการเป็นที่ปรึกษาที่จะไปให้ความรู้กับ
ส่วนราชการ ต่างๆ และประเด็นสำคัญที่ควรจะเน้นหรือกล่าวถึงในการบรรยาย
ให้ความรู้ โดยเริ่มจากการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เข้าร่วมอบรม โดยการ
เกริ่นนำถึงหลักสูตร การจัดการความรู้ : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ว่าคือ
อะไร ? การแนะนำตัววิทยากร และการเชื่อมโยงหลักสูตรเข้ากับประสบการณ์
ในงานของตน หรือเหตุการณ์ในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการจัดการความรู้

ต่อมาเป็นการบรรยายถึงวัตถุประสงค์การหลักสูตรว่า เป็นการสร้าง
ความรู้ ความเข้าใจหลักการและขั้นตอนของการจัดการความรู้ และนำความรู้
ไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเป้าหมาย และแผนงานเรื่องการจัดการความรู้
ใน องค์กรก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาโดย รวมของหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย



หลักการเบื้องต้นของการจัดการความรู้
ขั้นตอนการดำเนินการในเรื่องการจัดการความรู้ ทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติจริงในองค์กรต้นแบบ
ปัจจัยแห่งความสำเร็จและปัญหาอุปสรรค

ก่อนอื่นจะต้องกล่าวถึงที่มาของการนำระบบการจัดการความรู้ มาประยุกต์ใช้ในส่วนราชการและจังหวัดก่อน ซึ่งมาจาก พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ในหมวด 3 มาตรา 11 ซึ่งกำหนดไว้เป็นหลักการว่า “ส่วนราชการต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาความรู้ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ”
            ทั้งนี้ โดยมีแนวทางปฏิบัติตามคู่มือ คำอธิบาย และแนวทางปฏิบัติตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ดังนี้
            1. สร้างระบบให้สามารถรับรู้ข่าวสารได้อย่างกว้างขวาง
            2. ประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
            3. ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการ เพื่อให้เป็นผู้ที่มีความรู้ในวิชาการสมัยใหม่ และปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพและมีคุณธรรม
            4. สร้างความมีส่วนร่วมในหมู่ข้าราชการ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อนำมาพัฒนาใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการความรู้

การจัดการความรู้ (KM) การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ใน...